ขั้นตอนการทำ Keyword Research ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ ก่อนการเริ่มลงมือเขียนบทความเพื่อทำ SEO ซึ่งนักการตลาดมือใหม่หลายๆ ท่านอาจยังไม่รู้ว่า กว่าจะได้คีย์เวิร์ดสักตัวหนึ่งมาใช้ในการทำคอนเทนต์เพื่อหวังผลทาง SEO นั้น จะต้องใช้เครื่องมือบางตัวมาช่วยในการคัดเลือกคีย์เวิร์ดซึ่งกระบวนการนี้เราจะเรียกว่า การทำ Keyword Research โดยตัวช่วยในการคัดสรรคีย์เวิร์ดก็มีหลายเครื่องมือด้วยกัน ซึ่งวันนี้จะมาแนะนำ “Ubersuggest” ซึ่งข้อดีก็คือ ใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องสมัครสมาชิกใดๆ ให้ยุ่งยาก
โดยความสามารถหลักของ Ubersuggest ก็คือ เราสามารถเช็คปริมาณการค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ยของคีย์เวิร์ด รวมถึงช่วยแสดงคีย์เวิร์ดไอเดียอื่นๆ ที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดตั้งต้น โดยฟีเจอร์หลักๆ ที่เราจะใช้ในการทำ Keyword Research จะมี 2 ส่วนที่ต้องใช้ในการพิจารณา
- Search Volume หรือ ปริมาณการค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ย ซึ่งหากคีย์เวิร์ดตัวอย่างที่เรากรอกเข้าไป ปรากฎแถบตัวหนังสือว่า “Hight” นั่นหมายถึงคีย์เวิร์ดของเรามีปริมาณการค้นหาที่สูง แต่หากแถบตัวหนังสือปรากฎคำว่า “Avarage” หมายถึงปริมาณการค้นหาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าหากคีย์เวิร์ด ของเราถูกค้นหาในระดับต่ำ ก็ไม่มีตัวหนังสือใดๆ ปรากฎ ซึ่ง คีย์เวิร์ด ในลักษณะนี้ เราไม่ควรเลือกมาใช้ในการทำ SEO
- SEO Difficulty หรือ คะแนนความยากง่ายในการทำ SEO โปรดจำไว้ว่า ยิ่งคะแนน SEO Difficulty มีค่าสูง หมายถึงโอกาสในการทำ SEO โดยใช้คีย์เวิร์ดนี้ ให้ประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยาก เพราะมีคู่แข่งสูง ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้เลือกคีย์เวิร์ดที่มีระดับคะแนน SEO Difficulty ต่ำกว่า 50 ไปใช้ในการทำ SEO จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งฟังก์ชั่นย่อย ใน Ubersuggest ที่ช่วยเราในการค้นหาคีย์เวิร์ดคือฟังก์ชั่น Keyword Ideas โดยจะมีอีก 2 เงื่อนไขให้เราใช้พิจารณา คือ
- Suggestions แสดงคีย์เวิร์ดแนะนำที่มีคำขึ้นต้นเหมือนกับคีย์เวิร์ดตั้งต้นที่เรากรอกลงไป
- Related แสดงคีย์เวิร์ดไอเดียอื่นๆ ที่ระบบเห็นว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดตั้งต้นของเรา โดยไม่จำเป็นต้องมีคำขึ้นต้นที่คล้ายกัน ซึ่งคีย์เวิร์ดแบบ Related นี้ มักจะให้ไอเดียที่กว้างและหลากหลายมากกว่าให้เราเลือกพิจารณานำไปใช้
ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะมี keyword Ideas จำนวนมาก ปรากฎขึ้นมาให้เราได้เลือกสรร แต่อย่าลืมว่า สิ่งที่ต้องพิจารณาเสมอคือ ตัวเลข Search Volume หรือปริมาณการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งจะช่วยบอกกับเราว่า คีย์เวิร์ดนั้นๆ ควรจะหยิบมาใช้ในการทำ SEO ร่วมกับ คีย์เวิร์ดหลักของเราหรือไม่